ข้อมูลพื้นฐานของวิทยาลัย
หน้าแรก   /   ข้อมูลพื้นฐานของวิทยาลัย

 

                ข้อมูลทั่วไป  

 

       ชื่อภาษาไทย     :     วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ

       ชื่อภาษาอังกฤษ  :  SASANA BUSINESS ADMINISTRATION VOCATIONAL COLLEGE

       เปิดสอนประเภท  :  อาชีวศึกษา

                                  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) 

- สาขาการบัญชี

- สาขาการตลาด

- สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)

- สาขาการบัญชี

- สาขาการตลาด

- สาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล

- สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก (ทวิภาคี)

          เครื่องหมาย / ตราของโรงเรียน  :  คือ รูปวงกลมสองวงซ้อนกัน ภายในวงกลมมีสัญลักษณ์ของวิทยาลัย ประกอบด้วย เทียนไข และคัมภีร์หรือตำราเรียน พร้อมตัวอักษรภาษาอาหรับ ล้อมกรอบด้วยสัญลักษณ์รูปโดมมัสยิด โอบด้วยช่อมะกอกสีเขียว ๒ ช่อ ผูกโยงด้วยแถบริบบิ้น สีทอง ปักชื่อวิทยาลัยเป็นภาษาอังกฤษ ระหว่างเส้นรอบวงกลมทั้งสอง ด้านบนมีชื่อวิทยาลัยศาสนบริหารธุรกิจ ด้านล่างมีชื่อเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ระหว่างด้านบนและด้านล่าง คั่นด้วยรูปดาวข้างละหนึ่งดวง

      อักษรย่อภาษาไทย  :  ศบธ.

        อักษรย่อภาษาอังกฤษ : SASANA.

      สีประจำโรงเรียน  :  สีเขียว สีทอง

      วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ ตั้งอยู่ที่ 73 หมู่ 9 แขวงหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร10530 เดิมชื่อโรงเรียนสตรีศาสนวิทยาตั้งขึ้นเพื่อสนองความประสงค์ของบรรดาผู้ปกครองที่ต้องการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาทางศาสนาอิสลามและภาษาอาหรับควบคู่กันไปกับการศึกษาวิชาวิชาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษาภาคบังคับแล้วซึ่งเดิมได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ โดยมีอาจารย์สมานมาลีพันธุ์ เป็นประธานบริหาร สร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น บนเนื้อที่ 2 ไร่ 1.3 งาน หรือ 3,720ตารางเมตรพร้อมทั้งดำเนินการขออนุญาตจัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับได้รับใบอนุญาตจัดตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการใบอนุญาตเลขที่ กน. 001/2537 ออกให้ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2537 ให้จัดการศึกษาหลักสูตรโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามและภาษาอาหรับ ระดับอิสลามศึกษาตอนกลาง (มุตะวัซซีเฎาะฮ์) 3 ปีและอิสลามศึกษาตอนปลาย (ซานาวียะฮ์) ของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2523 โดยมีนายมนตรี มาลีพันธุ์เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้ง นายสมศักดิ์ มูหะหมัด เป็นครูใหญ่ และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานครได้ใช้สถานที่เป็นศูนย์ให้การศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายไปพร้อมกันด้วย ในปีการศึกษา 2550 ขออนุญาตจัดการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชา พาณิชยกรรม สาขาวิชาสาขาการบัญชี คอมพิวเตอร์ธุรกิจและการขาย และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชา บริหารธุรกิจ สาขาการบัญชีคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และการขาย และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนศาสนบริหารธุรกิจ ได้รับอนุญาตจัดตั้งเมื่อวันที่16 พฤษภาคม 2550 โดยมี นายมนตรี มาลีพันธุ์ เป็นผู้รับในอนุญาต นางบุญเกื้อ เฉลยโภชน์ เป็นครูใหญ่ในปีการศึกษาแรกมีนักเรียนนักศึกษาจำนวน 259 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 นายมนตรี มาลีพันธุ์ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ”มีนักเรียน นักศึกษา ปวช. และ ปวส.

        พ.ศ. 2523 โดยมีนายมนตรี มาลีพันธุ์ เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้ง นายสมศักดิ์ มูหะหมัด เป็นครูใหญ่และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานคร ได้ใช้สถานที่เป็นศูนย์ให้การศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายไปพร้อมกันด้วย ในปีการศึกษา 2550 ขออนุญาตจัดการเรียนการสอน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชา พาณิชยกรรม สาขาวิชาสาขาการบัญชี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และการขายและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชา บริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และการขาย และได้เปลี่ยนชื่อ ชื่อโรงเรียนศาสนบริหารธุรกิจ  ได้รับอนุญาตจัดตั้งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 โดยมี นายมนตรี มาลีพันธุ์ เป็นผู้รับในอนุญาต นางบุญเกื้อ เฉลยโภชน์ เป็นครูใหญ่  ในปีการศึกษาแรกมีนักเรียนนักศึกษาจำนวน 259 คน     

    ปี พ.ศ. 2554  ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ”  จัดการเรียนการสอน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชา พาณิชยกรรม สาขาวิชาสาขาการบัญชี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาการตลาด ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชา บริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี การตลาด และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

             ปี พ.ศ. 2563 ได้มีการปรับหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาคอมพิวเตอร์บริหารธุรกิจ เปลี่ยนเป็น สาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล 

         ปี พ.ศ. 2565 ได้มีการเพิ่มหลักสูตรสาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชา บริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี สาขาการตลาด สาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล และสาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก   

          วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสามจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) ผลการประเมิน รอบสอง และรอบสาม อยู่ในระดับดี (พ.ศ. 2554 - 2558)

          ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับการยกย่องให้เป็นโรงเรียนวิธีพุทธชั้นนำระดับเหรียญทองจากกรมการศาสนา

          ปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัลชมเชยสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประเภทอาชีวศึกษาประเภทอาชีวศึกษา สถานศึกษาขนาดเล็ก

          ปีการศึกษา 2559 นางสาวอรพรรณ สันเต๊ะ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 3สาขาการบัญชี ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน ประเภทอาชีวศึกษา สถานศึกษาขนาดเล็ก

          ปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัลสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประเภทอาชีวศึกษา สถานศึกษาขนาดเล็ก

          ปีการศึกษา 2560 นายมนตรี มาลีพันธุ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัล ผู้บริหารวิถีพุทธระดับเหรียญทอง จากกรมการศาสนา

          ปีการศึกษา 2560 นางสาวลัดดาวัลย์ หวังปัญญา นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง2(ปวส.2) สาขาการบัญชี ได้รับรางวัลชมเชย นักเรียนพระราชทาน ประเภทอาชีวศึกษาสถานศึกษาขนาดเล็ก

          ปีการศึกษา 2561 นางสาวทัศศินันต์ เลี่ยงตระกูลชัยนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 2(ปวส.2) สาขาการบัญชีได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านอาชีวศึกษาโดยสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

          ปีการศึกษา 2561 นางสาวธีรนุช มังประเสริฐ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง2(ปวส.2) สาขาการบัญชี ได้รับรางวัลชมเชย นักเรียนพระราชทาน ประเภทอาชีวศึกษาสถานศึกษาขนาดเล็ก

          ปีการศึกษา2561 รางวัลชมเชย การประกวดร้องเพลงบทเพลงพระราชนิพนธ์และเพลงลูกทุ่งงานแข่งขันทักษะวิชาชีพ ครั้งที่ 31 วิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีโปลีเทคนิค

          ปีการศึกษา2561 รางวัลเหรียญเงิน ที่ประเทศจีน ในงาน 10th InternationalExhibition of Inventions 3rd World Invention and InnovationForum (Foshan)

          ปีการศึกษา2561 รางวัล MARS INTERNATIONAL INVENTIONAWARD ในงาน 10th International Exhibition of Inventions 3rdWorld Invention and Innovation Forum (Foshan)

          ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัลสถานศึกษาคุณธรรมต้นแบบ

          ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับโล่เกียรติคุณในการส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา จากเจ้าคณะเขตหนองจอก

          ปีการศึกษา 2561 - 2563 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยสุขภาพอนามัยดี

          ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัลเหรียญทองแดงโครงการรางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

          ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัลหนึ่งสถานศึกษาหนึ่งนวัตกรรม จากคุรุสภา

          ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัลเหรียญทองแดงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา ระดับภาค ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 29

          ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัลเหรียญทองแดงการแข่งขันปันจักสีลัด เยาวชนชิงแชมป์แห่งประเทศไทย

          ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1การประกวดเต้น "BSU Dancing Contest"" จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

          ปีการศึกษา 2562วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัลศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา สามดาวระดับจังหวัด

          ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัลศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา สองดาว ระดับภาค

          ปีการศึกษา 2562 นายธนพัฒน์ เรืองเดช นักเรียนนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชั้นสูง2(ปวส.2) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน ประเภทอาชีวศึกษาสถานศึกษาขนาดเล็ก

          ปีการศึกษา 2562 นายธนพัฒน์ เรืองเดช นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 2(ปวส.2)สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านอาชีวศึกษาโดยสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

          ปีการศึกษา 2562 บันทึกข้อตกลง (MOU) ทางวิชาการโครงการสะพานเชื่อมโยงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการอาชีวศึกษา กับสถานศึกษา สพฐ. จำนวน20 สถานศึกษา

          ปีการศึกษา 2562 นายพีรภัทร มะแย้ม นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 (ปวช.3)สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจได้รับรางวัลชมเชยเหรียญทองระดับประเทศ โครงการ Wake up me(dia)เด็กยุคใหม่สื่อสารอย่างสร้างสรรค์

          ปีการศึกษา 2563 นางสาวพรรนภา อารีบี นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชั้นสูง ปีที่ 2(ปวส.2) สาขาการบัญชี ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน ประเภทอาชีวศึกษา สถานศึกษาขนาดเล็ก

          ประจำปีการศึกษา 2563 รางวัลศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา สี่ดาว ระดับภาค

          ปีการศึกษา 2563 นายอิทธิวัฒน์ ฐิตะลักขณะ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2(ปวส.2) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านอาชีวศึกษาโดยสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

          ปีการศึกษา 2564 นางยุพา ไทยพิทักษ์ ได้รับคัดเลือกเป็น ครูดีศรีอาชีวศึกษา สาขาวิชาการตลาดระดับภาค สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดย อาชีวศึกษากรุงเทพภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร

          ปีการศึกษา 2564 นายสมทวี มานวงค์ ได้รับคัดเลือกเป็น ครูดีศรีอาชีวศึกษาสาขาวิชาอิสลามศึกษา ระดับภาค สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยอาชีวศึกษากรุงเทพ ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร

          ปีการศึกษา 2564 นายสมทวี มานวงค์ ได้รับคัดเลือกเป็น ครูดีศรีอาชีวศึกษากลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ ระดับชาติ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

          ปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ ได้รับการประกันคุณภาพภายนอก (พ.ศ.2565 – 2569) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

          ปีการศึกษา 2564 นายเอกศาสตร์ บุสมาน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2(ปวส.2) สาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล ได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านอาชีวศึกษาโดยสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี       

          ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัลศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ระดับชาติ

          ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ ได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัย

          ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ ได้รับความร่วมทางวิชาการ (MOU) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรหมอนทอง

          ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ ได้รับความร่วมมือทางวิชาการ  (MOU) วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ในการส่งนักศึกษาเข้าเรียนและฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่โลตัสโกเฟรช ในสาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก

          ปีการศึกษา 2565 รางวัลเหรียญทองการแข่งขันสะเต็มศึกษา โดยอาจารย์กฤติมา มะลิวัลย์ ควบคุมทีมนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันสะเต็มศึกษาระดับภาค ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ที่จังหวัดระยอง

          ปีการศึกษา 2565 นางสาววสิพร ยีมิน นักศึกษาระดับชั้นปวช.3 สาขาการตลาด รับพระราชทานรางวัล “ความเป็นเลิศด้านอาชีวศึกษา”  

          ปีการศึกษา 2566 รางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง แข่งขันทักษะเทคนิคการนำเสนอขาย โดยอาจารย์ธณัฐดา  ยีมิน ควบคุมทีมนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะเทคนิคการนำเสนอขาย ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ

          ปีการศึกษา 2566 อาจารย์รัตติญา  สุวินัย รางวัลงานวิจัยยอดเยี่ยม และรางวัลโล่ยอดเยี่ยม การประกวดงานวิจัยนวัตกรรมสื่อการสอนระดับประเทศครั้งที่ 16 ปี2566

          ปีการศึกษา 2566 อาจารย์ยุพา  ไทยพิทักษ์ รางวัลนำเสนอดีเด่น การประกวดงานวิจัยนวัตกรรมสื่อการสอนระดับประเทศครั้งที่ 16 ปี 2566

          ปีการศึกษา 2566 อาจารย์ธณัฐดา ยีมิน รางวัลโล่ยอดเยี่ยม การประกวดงานวิจัยนวัตกรรมสื่อการสอนระดับประเทศครั้งที่ 16 ปี 2566

          ปีการศึกษา 2566 รางวัลเหรียญทอง การประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และกีฬาสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ระดับชาติ ประเภท การเขียนแผนธุรกิจ

          ปีการศึกษา 2566 อาจารย์ธนัฐดา ยีมิน ผู้บริหารดีเด่น ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

          ปีการศึกษา 2566 อาจารย์ทรงสิทธิ์ พุ่มวิจิตร ครูดีเด่น ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

          ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับความร่วมมือ (MOU) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเย่วชนมีความเป็นเลิศกีฬาฟุตซอลระหว่างบริษัท แบงค็อก ฟุตซอล จำกัด

          ปีการศึกษา 2566 นางสาวลาน่า วงษ์ประเสริฐ และ นางสาวเมยาวี บินหะยีอับดุลรอมาน รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันสะกดคำภาษาอังกฤษ BSU Spelling bees compettition 2023

         ปีการศึกษา 2566 นางสาวศิรินญา รัสมี รางวัลชนะเลิศ การประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง

          ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยอาชีวศึกษาได้ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเทศกาลกีฬากรุงเทพ ประเภทกีฬา ปันจักสีลัต ( เหรียญทองรุ่น A, เหรียญทอง รุ่น B, เหรียญทอง รุ่น I)

         ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกจิ รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยประจำปีการศึกษา 2565 โดยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 10

         ปีการศึกษา 2566 นายอาทิตย์ บู่หาด และ นางสาวลาน่า วงษ์ประเสริฐ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ รางวัลระดับคุณภาพระดับสามดาว กิจกรรมบ่มเพาะศักยภาพสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ผลงานเรื่อง "เกมวิชวลโเวลเพื่อการเรียนรู้เรื่อง ภูมิปัญญาไทย ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์"

          ปีการศึกษา 2566 ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ รางวัลผลการประเมิน 4 ดาว ระดับภาค

          ปีการศึกษา 2567 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจเข้าร่วมการแข่งขัน SMART INNOVATION 2023(SEASON2) รางวัลเหรียญทองระดับภาค และรางวัลเหรียญเงินระดับชาติ

          ปีการศึกษา 2567 รางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง ผลการแข่งขันทักษะเทคนิคการนำเสนอขาย ระดับชาติ ควบคุมทีมโดยอาจารย์ธณัฐดา  ยีมิน

          ปีการศึกษา 2567 รางวัลเกียรติบัตรเหรียญทองจากการแข่งขันทักษะ วิชาชีพการจัดแสดงสินค้าและบริการ ควบคุมทีมโดยอาจารย์สุภาพร  ยูซุบ

          ปีการศึกษา 2567  รางวัลเกียรติบัตรเหรียญทองจากการประกวดร้องเพลงสากล ควบคุมทีมโดยอาจารย์ณัฐวุฒิ  เกตุนิวัติ และอาจารย์ซารีฮะ ดอเลาะ

          ปีการศึกษา 2567 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับความร่วมมือ (MOU) ได้ร่วมกันจัดการศึกษาระบบทวิภาคี หลักสูตร ปวส.สาขาสิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก สาขาวิชาการบัญชี ระหว่างบริษัทซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด(มหาชน)

          ปีการศึกษา 2567  วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับความร่วมมือ (MOU)  โดยนายการันต์ ศรีทองสุข ผู้จัดการกลุ่มงาน สถาบันฝึกอบรมขับขี่รถจักรยานยนต์ยามาฮ่า

          ปีการศึกษา 2567 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับความร่วมมือ (MOU) กับสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่4 โดยนายไฟซ้อล อับดุลสมัด ผู้อำนวยการสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่4

          ปีการศึกษา 2567 อาจารย์อนุสรณ์  หมัดเด อาจารย์วิทยาศาสตร์วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจกับรางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นระดับดีมาก ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร

          ปีการศึกษา 2567 อาจารย์อนุสรณ์  หมะเด ครูผู้สร้างสรรค์ผลงานสอนวิทยาศาสตร์ดีเด่น ระดับภาค ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ประจำปีพุทธศักราช 2567 

          ปีการศึกษา 2567 อาจารย์รัตติญา  สุวินัย รางวัลผลงานวิจัย ระดับดีเยี่ยม การประกวดผลงานนวัติกรรม สิ่งประดิษฐ์ สื่อการสอน และงานวิจัยครู ระดับชาติ ครั้งที่ 17 ประจำปี 2567

          ปีการศึกษา 2567 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ เข้าร่วมการแข่งขันทักษะในงานเปิดโลกปริญญาตรีกับ BSU ครั้งที่ 18 (รางวัลชนะเลิศ การเขียนแผนธุรกิจ, รางวัลชนะเลิศ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ด้วย google sketchup, รางวัลชนะเลิศ super tourist guide, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดโครงงานและนวัตกรรมเทคโนโลยี)

          ปีการศึกษา 2567 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับรางวัลศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาระดับ 5 ดาว

          ปีการศึกษา 2567 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจได้รับความร่วมมือ (MOU) มหาวิทยาลัยอู่โจว สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยไปศึกษาต่อที่ม.อู่โจวอีก 3 ปี ด้วยทุนการศึกษาของม.อู่โจวเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์

           ปีการศึกษา 2567 รางวัลเกียรติบัตรเหรียญทองอันดับ1 ระดับชาติ ทักษะเทคนิดการเสนอขาย ระดับปวช. ควบคุมทีมโดย อาจารย์ธณัฐดา ยีมิน และ อาจารย์ทรงสิทธิ์ พุ่มวิจิตร

 

         

       แนวทางการจัดการเรียนการสอน 

      ปรัชญาวิทยาลัย  :  ใฝ่หาความรู้  เชิดชูคุณธรรม  ก้าวนำวิชาการ  เชี่ยวชาญเทคโนโลยี   

     อัตลักษณ์ของสถานศึกษา : สุภาพชน คนคุณธรรม

     เอกลักษณ์ของสถานศึกษา : บ่มเพาะคุณธรรม บริการวิชาชีพ

     คุณธรรมอัตลักษณ์ : ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ จิตอาสา

     วิสัยทัศน์  :   วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ มุ่งผลิตเยาวชนให้เป็นคนดี คิดเป็น ทำเป็น เป็นเลิศทางด้านวิชาชีพ ก้าวทันเทคโนโลยี  จัดการเรียนรู้โดยยึดหลักปรัชญา  "เศรษฐกิจพอเพียง"

     พันธกิจ  :  1. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษา

      2. จัดโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจน เอื้อต่อการปฏิบัติงานของวิทยาลัยและจัดระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

      3. จัดการเรียนการสอนและพัฒนานักเรียน นักศึกษาให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์มุ่งสู่การเป็นพลเมืองไทย และพลเมืองโลกที่ดี ตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง

      4. จัดระบบพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

      5. เป็นแหล่งให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคม

      6. ส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร

 

สภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัย