สารจากผู้บริหาร
หน้าแรก   /   สารจากผู้บริหาร


สารของผู้อำนวยการอิสลามศึกษา


                  พวกเราทุกคนคงคุ้นหูกับคำว่า "ไทยแลนด์ 4.0" และคุ้นเคยกับคำพูดที่มีสาระโดยรวมว่าองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ สถาบันการเงิน สถานศึกษา หน่วยงานรัฐ แม้กระทั่งองค์กรทางศาสนา ต้องพัฒนาให้สอดรับกับยุคไทยแลนด์ 4.0 ผมเองได้รับทราบมาว่า แม้กระทั่งนักวิชาการด้านศาสนาก็ได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง การบริหารองค์กรศาสนาในยุค 4.0 ซึ่งผมเองก็รู้สึกทึี่งในตัวนักวิชาการท่านนั้นว่าช่างรอบรู้ก้าวล้ำทันโลกเสียนี่กระไร เพราะตัวผมเองก็จ้องรับสารภาพว่ายังไม่กระจ่างกับเรื่อง 4.0 นี่เท่าไหร่ โดยส่วนตัวผมเองจะพัฒนาถึงยุค 4.0  เรายังไม่กล้ายืนยัน เพราะความไม่รู้จึงต้องหาทางสืบค้น ว่าก่อนจะมาถึงยุคไทยแลนด์ 4.0 นี่เคยมียุคไทยแลนด์ 1.0-3.0 ไหม ก็พบว่า ในแต่ละยุคสมัยรัฐบาลไทยก็จะให้ความสนใจและส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน
                 เริ่มต้นกันที่ไทยแลนด์ 1.0 ช่วงนั้นรัฐก็จะเน้นการลงทุนทางภาคเกษตรกรรม เช่น สัตว์เลี้ยง พืชไร่ ทำสวน ทำนา ส่วนด้านการส่งออกสมัยนั้นยังเป็นแค่พวกไม้สัก ดีบุก
                 ยุคต่อมาก็เป็นไทยแลนด์ 2.0 ช่วงนี้มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเบาที่ใช้แรงงานจำนวนมากแทน เช่น เครื่องนุ่งหุ่ม รองเท้า กระเป๋า เครื่องประดับ
                 ช่วงปัจจุบันก็คือ ไทยแลนด์ 3.0 ซึ่งเป็นยุคของอุตสหกรรมหนักและการส่งออก มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น เน้นเรื่องชิ้นส่วนยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้าที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น และมีการขยับไปลงทุนในต่างประเทศอีกด้วย
                 ช่วงไทยแลนด์ 3.0 ที่เราเป็นกันมาตลอดจนถึงทุกวันนี้ ถึงแม้จะเป็นช่วงที่ไทยเราพัฒนาขึ้น ประชากรมีรายได้มากขึ้น แต่ถึงกระนั้นรายได้ประเทศของเราก็อยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น เราไม่สามารถขยับขึ้นไปจากจุดนี้ได้สักที เมื่อ 50 ปีก่อนช่วง พ.ศ. 2500-2536 เศรษฐกิจของไทยเรามีการเติบโตอย่างมากถึงระดับ 7-8% ต่อไป แต่หลังจาก พ.ศ. 2537 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นเพียง 3-4 % ต่อปีเท่านั้น สภาพเช่นนั้นแหละครับที่เรียกกันว่า ไทยเราตกอยู่ใน "กับดักของระดับรายได้ปานกลาง" นอกจากนั้นยังมีเรื่องของ "ความเลื่อมล้ำด้านความร่ำรวย และ เรื่องของ "ความไม่สมดุลในการพัฒนา" ซึ่งเรื่องพวกนี้นี่แหละครับที่ทำให้รัฐบาลต้องหันมาใส่ใจ เร่งพัฒนาปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อให้ประเทศหลุดจากกับดักของการมีรายได้ปานกลาง ไปสู่การมีรายได้สูง และนี่จึงเป็นที่มาของ "ไทยเเลนด์ 4.0"
                ไทยแลนด์4.0 นี่เป็นการ "ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม" เปลี่ยนจากที่แต่ก่อนเราลงมือทำมาก แต่ได้ผลตอบแทนน้อยมาเป็นลงมือทำน้อยๆ แต่ได้ผลตอบแทนมหาศาล โดยการเอาความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดัน และนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าไปสู่การบริการมากขึ้น เป็นการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปใช้เทคโนโลยีใหม่ มีการสร้างสรรค์และการนำเอานวัตกรรมเข้ามาช่วย รวมไปถึงสมัยก่อนเราอาจจะขาดแคลนคุณภาพของแรงงาน มีแต่แรงงานทักษะต่ำ ไม่มีความรู้พื้นฐานเพียงพอ ก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยน  สร้างพื้่นฐานความรู้ ความเชี่ยวชาญ ให้แก่แรงงานของเรา
                สถานศึกษาที่ดูเหมือนจะต้องเป็นผู้แบกรับการผลิตบุคลากรเพื่อมาเป็นกำลังสำคัญในการทำให้ไทยแลนด์ 4.0 บรรจุตามเป้าหมายก็คือ สถานศึกษาอาชีวะนี่แหละครับ เพราะเป็นสถานที่ฝึกฝนให้นักเรียน นักศึกษา สร้างผลงาน สิ่งประดิษฐ์ และ นวัตกรรมที่จับต้องได้ และนำไปใช้งานได้จริง คุณภาพของคนในอนาคตจะไม่วัดกันด้วยใบปริญญา แต่จะวัดกันด้วยสมรรถนะในการทำงาน
                สิ่งที่น่าวิตกตามมาก็คือ ศาสตร์ทางสังคมศาสตร์ เช่น รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ปรัชญา ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ จะไม่มีใครเห็นคุณค่าอีกต่อไป